HR TIPS

การบริหารคนเก่ง(Talent) หรือคนที่มีศักยภาพสูง

1134    21093  

              ในองค์กรมีความแตกต่างระหว่างบุคลากร ผู้บริหารต้องใช้เทคนิคในการบริหารที่หลากหลายและเลือกให้เหมาะกับแต่ละคน  วันนี้จึงได้เลือกบทความจากการอบรมเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลแนวใหม ที่จัดอบรมเมื่อวันที่ 17 - 19 กรกฎาคม 2549 ณ ไบเทค บางนา กทม. ที่จัดโดย สํานักงาน กพ. ที่แนะนำเทคนิคในการบริหารคนเก่ง  ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคลากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า  ดังนั้นเพื่อไม่ให้สูญเสียคนที่มีความสามารถ  เรามาดูวิธีการบริหารคนเก่งกันนะคะ

              “คนเก่ง”  (Talent) หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถพิเศษ มีผลงานที่โดดเด่นเหนือบุคคลอื่น ซึ่งอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแตองค์กร โดยขึ้นอยูกบลกษณะงาน นโยบาย วัฒนธรรมองค์กรและกลยุทธขององคกรว่าต้องการไปในทิศทางใด

          ลักษณะของคนเก่ง (Talent) หรือคนที่มีศักยภาพสูง มีดังนี้

1. มีความรู ความสามารถและมีคุณสมบัติในการนําตัวเองไปสูงความรับผดชอบที่สูงขึ้น

2. สามารถแกไขปัญหาได้ดี วางแผนป้องกันปัญหาที่จะเกิดได(คิดวิเคราะหปัญหาเป็น)

3. สามารถเรียนรู้ได้เร็ว และมีความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรูเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

4. มีความคิดริเร่มสร้างสรรค

5. มีความเป็นผู้นํา

6. มีวิสัยทัศน

7. สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นไดเป็นอย่างดี

          การจัดการกับคนเก่ง (Talent) มีแนวทางดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งคนเก่ง ดังนี้

1. กําหนดคุณสมบัติของคนเก่ง โดยนําวิสัยทัศน พันธกิจ และนโยบายขององค์กรมาวิเคราะหและกําหนดเป็นคุณสมบัติของคนเก่งที่องค์กรต้องการ

2. การสรรหาคนเก่ง (Talent) สามารถสรรหาได้จากทั้งภายนอกองค์กร และรับสมครบุคลากรจากภายในกันเองซึ่งเป็นข้อดีในการเพิ่มขวัญและกําลงใจให้กับพนักงานไปในตัว

3. การพัฒนาคนเก่ง เป็นการส่งเสริมคนเก่งให้เป็นคนเก่งยิ่งขึ้นเป็นการเพิ่มประสทธิภาพของตัวคนเก่งเองและองค์กร รูปแบบการพัฒนามีหลายรูปแบบได้แกการฝึกอบรม ฝึกงาน/ ดูงาน มอบหมายงานให้รับผิดชอบเป็นต้น

4. การรักษาคนเก่ง(Talent) ให้อยู่กับองค์กรให้นานที่สุด เราต้องตระหนักว่าคนที่มีความรู้ความสามารถที่ถือว่าเป็นคนเก่งหรือมศักยภาพสูงนั้นต้องเป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดวิสัยทัศนที่จะมุ่งสู่ความสําเร็จสูง มีความคิดที่เป็นอิสระ รักงานที่ท้าทาย มีการวางเป้าหมายของตนเองอย่างชัดเจน และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองใหไปสูจุดมุ่งหมายที่ตนเองต้องการ ดังนั้นสิ่งที่องค์กรต้องดําเนินการเพื่อให้รักษาคนเก่งให้คงอยู่กับองค์กรได้นาน ๆ นั้นต้องให้ความสําคัญในสิ่งเหล่านี้ คือ

- ภาพลักษณ์ขององค์กรต้องดี ซึ่งทําให้พนักงานเกิดความภาคภูมิใจในองค์กรและส่งผลต่อความผูกพันและแรงจูงใจในการทํางานของพนักงาน

- ลักษณะงานต้องดี คืองานต้องมีความท้าทาย มีอิสระ มีความกาวหน้าที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน

- ค่าตอบแทนต้องสูงและรูปแบบการดําเนินชีวิตในองค์กรต้องดี เหมาะสมกับศักยภาพของคนเก่ง

- วิสัยทัศน ค่านิยมและวัฒนธรรมต้องเอื้อต่อการทํางาน

- ผู้บริหารขององค์กรต้องมีวิสัยทัศน มีคุณธรรม

จากที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นสิงที่ทุกองค์กรพึงปรารถนาที่จะไดคนเก่งเข้ามาช่วยพัฒนาองค์กร แต่ข้อพึงระวังในการนำระบบการบริหารคนเก่ง (Talent) เข้ามาใช้ในองค์กรคือ

1. คนเก่งมักเชื่อมั่นในตนเองสูง ทําให้การทํางานร่วมกับเพื่อนร่วมงานอื่น ๆ มีปัญหา

2. ปัญหาการย้าย เปลี่ยนงานบ่อย คนเก่งมักตั้งเป้าหมายของตนเองไว้สูง หากพบว่ามีงานอื่นที่ดีกว่า ท้าทายกว่าแถมมีค่าตอบแทนสูงกว่าก็พร้อมที่จะเปลี่ยนงาน ข้อนี้อันตรายนะคะ ดังนั้นถ้าองค์กรใดหากมอบหมายงานให้คนเก่งดําเนินการคนเดียวต้องระวังเรื่องนี้ให้มากไว

3. การบริหารจะเป็นลักษณะการบริหารคน 2 รุ่น ได้แก

3.1 คนรุ่นเก่าหรือผู้อาวุโส ที่มองว่าคนรุ่นใหมแข็งกระด่าง ไม่ให้ความเคารพ และไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง รวมไปจนถึงการไม่ยอมเปลี่ยนแปลง (เป็นบางคนนะคะ ส่วนใหญ่มักหมดไฟในการทำงานแล้ว)

3.2 คนรุ่นใหม่ที่ไม่ยอมรับค่านิยมแบบเก่า และต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งเบื่อหน่ายกับความล่าช้าของคนรุ่นเก่า เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการต้องใช้แบบผสมผสานกันให้ลงตัวให้ได

4. ภาวะผู้นําของผู้บริหารในองค์กร เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่องค์กรต้องตระหนักไว้เป็นอย่างมากเพราะหากผู้บริหารแสดงออกในสิ่งที่ไม่พึงประสงค ก็จะเป็นการสูญเสียคนเก่งทันทีเช่นกัน

     ไม่ว่าจะเป็นการบริหารคนเก่ง คนเก่า คนแก่ หรือแม้แต่คนเก(เร) ล้วนแต่เป็นการบริหารคน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของผู้บริหารทั้งสิ้น การบริหารจัดการคนก็เป็นเหมือนการวิจัย บางเทคนิคบางวิธีใช้ได้กับบางคน หรือบางคนต้องใช้หลาย ๆ เทคนิคหลายวิธีการ เพราะฉะนั้นผู้บริหารต้องเป็นเหมือนทศกัณฑ์ 10 ปาก 10 หน้า  20 หู 20 มือ เหนื่อยหน่อยนะคะ แต่ว่าจะเราสามารถทำได้ ผลงานจากการวิจัยของเราก็ถือได้ว่าประสบผลสำเร็จ..ลองดูนะคะ..ถ้ามีวิธีไหนดี ดี ลองนำมาแบ่งปันกันนะคะ