HR ห้ามให้ข้อมูลพนักงานแก่องค์กรภายนอก ถ้ายังไม่ได้ขอความยินยอม (มีตัวอย่างเอกสารขอความยินยอม)

  • 23 พ.ค. 2566
  • 4945
หางาน,สมัครงาน,งาน,HR ห้ามให้ข้อมูลพนักงานแก่องค์กรภายนอก ถ้ายังไม่ได้ขอความยินยอม (มีตัวอย่างเอกสารขอความยินยอม)

แค่ให้คำตอบว่า พนักงานทำงานในองค์กรรึเปล่า แก่คนนอก เช่น ธนาคาร ,บริษัทประกัน ก็ถือว่าเปิดเผยข้อมูลผู้อื่นแล้วนะคะ ถ้าพนักงานยังไม่ให้ความยินยอมและรู้เข้า ก็ถือเป็นความผิดได้ค่ะ

 

ทั้งนี้ พนักงานที่ต้องการดำเนินการต่าง ๆ กับองค์กรภายนอก  เช่น ขอสินเชื่อ หรือทำบัตรเครดิต เมื่อมาขอข้อมูลเพื่อนำไปใช้ดำเนินการ อาทิ ใบรับรองรายได้ ฝ่าย HR ต้องจัดทำเอกสารขอความยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลและให้พนักงานกรอกข้อมูลว่ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลกับองค์กรใดพร้อมเซ็นชื่อยินยอมด้วย  จากนั้น เมื่อองค์กรที่พนักงานให้ความยินยอมโทรมาสอบถาม HR ก็สามารถให้ข้อมูลตามขอบเขตที่ระบุไว้ในเอกสารขอความยินยอมเท่านั้นค่ะ

 

ส่วนข้อมูลในเอกสารขอความยินยอม ควรทำในรูปแบบทั่วไป เพื่อให้สามารถใช้ได้กับทุกองค์กร มาดูตัวอย่างกันเลยค่ะ (แฟน ๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมกับนโยบายบริษัทเลยนะคะ)

 

 

โลโก้บริษัท

เอกสารแสดงความยินยอม (Consent Form)

บริษัท ………………………………..........

ใช้สำหรับการเปิดเผยข้อมูลแก่องค์กรภายนอก

 

 

วันที่..............................................

 

 

ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว..................................................................................................

(   ) “ให้” ความยินยอม    (   )“ไม่ให้” ความยินยอม  

ในการให้บริษัท........(บริษัทที่ทำงานอยู่)..........เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าแก่

 

บริษัท............(ชื่อบริษัทที่ยินยอมเปิดเผยข้อมูล)........เพื่อดำเนินการ...............................................

ข้อมูลที่ยินยอมให้เปิดเผย ได้แก่

1…………………………………………………………

2…………………………………………………………

3…………………………………………………………

4…………………………………………………………

5…………………………………………………………

 

ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนา ข้าพเจ้าได้อ่านรายละเอียดจากเอกสารชี้แจงข้อมูล หรือได้รับคำอธิบายจากบริษัท ......................................ถึง วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผย (“ประมวลผล”) ข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับพนักงาน โดยมีความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้แสดงความประสงค์ในการยินยอม หรือ ไม่ยินยอม ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ด้วยความสมัครใจ โดยปราศจากการบังคับหรือชักจูง และข้าพเจ้าทราบว่าข้าพเจ้าสามารถถอนความยินยอมนี้เสียเมื่อใดก็ได้ตามเงื่อนไขข้อกำหนดของกฎหมาย

 

กรณีที่ข้าพเจ้าประสงค์จะขอถอนความยินยอม ข้าพเจ้าทราบว่า การเพิกถอนความยินยอมของข้าพเจ้าอาจทำให้ข้าพเจ้าไม่ได้รับความสะดวกจากการดำเนินการบางอย่างได้ และข้าพเจ้าทราบว่าการถอนความยินยอมดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้ให้ความยินยอมไว้แล้ว ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการไปแล้วก่อนหน้านี้

 

 

ลงชื่อ.....................................................

 (..........................................................)

 

 

 

การทำเอกสารแสดงความยินยอมไว้ จะทำให้ HR สามารถให้ข้อมูลพนักงานแก่องค์กรที่ระบุไว้ได้โดยไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากเป็นเรื่องที่พนักงานไปดำเนินการด้วยตนเองหรือเรียกว่าเป็นเรื่องส่วนตัวนั่นเอง ไม่ได้อยู่ในนโยบายการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท ถือว่าเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตค่ะ

 

นอกจากนี้ หากมีเจ้าหน้าที่ของรัฐมาสอบถามข้อมูลซึ่งเป็นไปตามการบังคับใช้กฎหมาย เช่น พนักงานเป็นผู้ต้องสงสัยในการกระทำความผิด โดยเจ้าหน้าที่มีหมายศาลมาแสดงด้วย  HR ก็สามารถปฏิบัติตามขอบเขตที่แจ้งไว้ในหมายศาลได้เลยค่ะ 

 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้เลยนะคะ https://www.facebook.com/hrbuddybyjobbkk

 

ขอบคุณข้อมูล :  อาจารย์ พรเทพ พงษ์สง่างาน  ที่ปรึกษาอาวุโสด้าน HR และกรรมการ บริษัท เซ็นเมนทอร์ จำกัด ,กรรมการบริหาร APK Management Center

Website : www.senmentor.com

Line : wisebrown

Tel : 081-820-9271

 

สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : 02-514-7474 ต่อ 3

อีเมล : [email protected]

Line :  @jobbkkvip (อย่าลืมใส่ @)

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top