แก้ภาษี หนุนรากหญ้า! เปิดข้อกังขา บัตรประชาชนใหม่ ช่วยได้จริงหรือ?

  • 11 พ.ค. 2563
  • 1808
หางาน,สมัครงาน,งาน,แก้ภาษี หนุนรากหญ้า! เปิดข้อกังขา บัตรประชาชนใหม่ ช่วยได้จริงหรือ?

 โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลจะได้ใช้งบประมาณอย่างเหมาะสมว่าต้องช่วยใคร อย่างไร ใครที่ต้องเสียภาษี ใครที่ไม่ต้องเสียภาษี แนวคิดดังกล่าว เพื่อต้องการให้ใช้เป็นข้อมูลเชื่อมโยงทุกกระทรวงในบัตรใบเดียวทั้งในเรื่องฐานภาษี และสวัสดิการด้านอื่นๆ เช่น การขึ้นรถไฟฟรี ค่ารักษาพยาบาล

กระทั่ง คนในสังคมตีความต่างๆ นานา จากคำพูดในรายการคืนความสุขฯ ว่าจะมีการระบุอาชีพและรายได้ลงบนหน้าบัตรประชาชน ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ออกมาอธิบายว่า ไม่ได้หมายความว่าให้ระบุอาชีพและรายได้ลงบนหน้าบัตรประชาชน เพียงแต่ใส่ไมโครชิพเพิ่มเข้าไปอีกตัวเท่านั้น โดยเสียบการ์ดเข้าไปสามารถทราบได้ว่าบุคคลนี้ทำอาชีพอะไร มีรายได้เท่าไร พร้อมกันนี้ยังย้ำว่า แค่ต้องการแยกแยะไม่ได้ต้องการแบ่งชนชั้น และเตรียมคิดต่อไปถึงการเชื่อมโยงการเสียภาษี ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารถเมล์ ค่าเครื่องบิน ซึ่งจะใช้เป็นการ์ดใบเดียวหรือสองใบ

จากนโยบายดังกล่าวนี้ จึงทำให้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ อาสาไขข้อข้องใจ ประเด็นร้อน 'บัตรประชาชนใหม่' นโยบายที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในรอบสัปดาห์ จะเป็นอย่างไร โปรดติดตาม...

 

พล.อ.ประยุทธ์ ได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยไปศึกษาข้อมูลและพิจารณาว่าสามารถทำข้อมูลเชื่อมโยงทุกกระทรวงในบัตรใบเดียวได้หรือไม่

เปิดข้อดี ‘บัตรประชาชนใหม่’ แก้ปัญหาภาษี ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย

การทำฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทุกกระทรวงในบัตรเดียวนั้น มีข้อดี คือ ...

1. แก้ปัญหาเรื่องภาษี เช่น การเสียภาษีซ้ำซ้อน การรั่วไหลของภาษี รวมถึงลดขั้นตอนการเสียภาษี และเชื่อมโยงกับข้อมูลทะเบียนราษฎร กับบริการภาครัฐทั้งระบบ

2. ทำให้นโยบายการลดภาระค่าครองชีพ เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เช่น ระบบขนส่งมวลชน รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี หรือค่ารักษาพยาบาล

3. เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าสู่ระบบภาษีที่เหมาะสมตามลำดับรายได้ของแต่ละบุคคล และนำเงินภาษีมาใช้พัฒนาประเทศ

4. เอื้อประโยชน์ในการให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรอย่างตรงตัวบุคคล โดยไม่ต้องผ่านหลายหน่วยงาน

 

แก้ปัญหาเรื่องภาษี และเชื่อมโยงกับข้อมูลทะเบียนราษฎร กับบริการภาครัฐทั้งระบบ

ไขข้อสงสัย ‘บัตรประชาชนใหม่’ รวมฮิตจากกระแสโซเชียล

หลังจากที่ นายกรัฐมนตรี เสนอแนวคิดระบุอาชีพและรายได้ลงในบัตรประชาชน ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยในประเด็นต่างๆ วันนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ อาสาไขคำตอบคาใจในประเด็น ดังต่อไปนี้

- การลงรายได้ในข้อมูลส่วนบุคคล จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นตัวเลขจริง -

หลายคนสงสัยในประเด็นนี้อย่างมาก เพราะคิดว่าตัวเองจะเป็นผู้แจ้งในการทำบัตรว่ามีรายได้เท่าไร แต่ความจริงแล้วนั้น นายวิเชียร ชิดชนกนารถ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน ให้ข้อมูลว่า หลักการคือให้หน่วยงานต่างๆเก็บข้อมูลตามอำนาจหน้าที่ของตัวเอง แต่กระทรวงมหาดไทย ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บรายได้ของประชาชน เพราะเป็นทะเบียนราษฎรเก็บแค่ข้อมูลพื้นฐาน ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่จะเป็นผู้เก็บข้อมูลอาชีพ รายได้ ต้องเป็นไปตามภารกิจ ซึ่งปัจจุบันประชาชนจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มข้าราชการ กลุ่มพนักงานเอกชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งรายได้ที่ระบุในบัตรประชาชนจะต้องไปดูว่าบุคคลนั้นๆ เป็นคนกลุ่มไหน เช่น พนักงานเอกชนอาจจะต้องไปเอาข้อมูลจากประกันสังคม, ข้าราชการ ไปเอาข้อมูลจากกรมบัญชีกลาง, เกษตรกร เอาข้อมูลจากกระทรวงเกษตรฯ เป็นต้น โดยมีสำนักทะเบียนกลางเป็นผู้เชื่อมโยง

 

ไม่ได้หมายความว่าให้ระบุอาชีพและรายได้ลงบนหน้าบัตรประชาชน เพียงแต่ใส่ไมโครชิพเพิ่มเข้าไปอีกตัวเท่านั้น

- ฐานข้อมูลที่มี จะช่วยเหลือประชาชนได้อย่างไร -

หากประเทศไทยจัดทำฐานข้อมูลเดียวกันเรียบร้อย จะช่วยเหลือประชาชนได้อย่างไรบ้างนั้น นายวิเชียร ให้คำตอบว่า บัตรสมาร์ทการ์ดที่มีฐานข้อมูลประชาชนจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ไม่ต้องถ่ายสำเนาเป็นกระดาษให้ยุ่งยาก ส่วนการช่วยเหลือด้านอื่นๆ ของรัฐบาลต่อประชาชนอาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขอรับเงินสงเคราะห์ บัตรขึ้นรถเมล์ฟรี จะเชื่อมโยงกับทะเบียนราษฎรโดยจะไปถามหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูลว่าบุคคลนั้นมีอาชีพ รายได้ ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งจะง่ายขึ้นกว่าเดิมเพียงแค่ใช้บัตรประชาชนใบเดียวตรวจสอบข้อมูลก็จะได้รับความช่วยเหลือได้โดยไม่ต้องมีกระบวนการมากมาย

- หากบัตรประชาชนหาย ซึ่งมีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ จะเป็นอันตรายหรือไม่ -

นายวิเชียร กล่าวว่า แนวทางที่ รมว.มหาดไทย ได้ให้ไว้คือ ไม่มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในบัตร ไม่ว่าจะพิมพ์บนหน้าบัตรหรือในชิพ รัฐบาลไม่มีทางเก็บอะไรที่เป็นอันตรายต่อประชาชน โดยหลักการแล้วบัตรประชาชน คือ การพิสูจน์ว่าคุณเป็นเจ้าของข้อมูลนี้ ส่วนข้อมูลทั้งหลายไม่ได้อยู่เฉพาะที่ปรากฏอยู่บนหน้าบัตร ซึ่งอาจจะมีวุฒิการศึกษา สิทธิการรักษาพยาบาล การผ่านการเกณฑ์ทหาร แต่ทั้งหมดทั้งปวงนี้เลขบัตรประชาชน 13 หลัก จะเป็นดัชนีการจัดเก็บ

ขณะที่ บุคคลที่จะอ่านข้อมูลได้มีแค่ 2 คน คือ 1. เจ้าของบัตรฯ 2. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่ตามกฎหมาย ฉะนั้น จึงไม่ใช่ว่าใครก็สามารถหยิบบัตรประชาชนมาดูข้อมูลได้ แม้กระทั่ง เจ้าหน้าที่ เพราะแต่ละหน่วยงานจะสามารถดูข้อมูลได้เฉพาะบางเรื่องตามอำนาจหน้าที่ของตนเท่านั้น

 

ผอ.สำนักบริหารการทะเบียน ยัน ไม่มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในบัตร ไม่ว่าจะพิมพ์บนหน้าบัตรหรือในชิพ

- เปลี่ยนบัตรใหม่ สุดท้ายต้องถ่ายเอกสารอยู่ดี -

นายวิเชียร กล่าวในเรื่องนี้ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ จะเข้าสู่ยุคการใช้บัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากปี 2558 เป็นปีที่ประชาชน 99.5% ถือบัตรสมาร์ทการ์ด เมื่อประชาชนไปติดต่อราชการ จะให้ใช้บัตรสมาร์ทการ์ดเพียงใบเดียว โดยหน่วยงานนั้นๆ จะต้องเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับสำนักทะเบียนกลาง ซึ่งสำนักทะเบียนกลางจะให้ข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ รูปถ่ายใบหน้า ข้อมูลพื้นฐานตามที่กระบวนการของหน่วยงานนั้นต้องการ ไม่ใช่ให้ข้อมูลทั้งหมด

ฉะนั้น ทุกส่วนราชการที่ติดตั้งเครื่องโยงระบบคอมพิวเตอร์ และมีเครื่องอ่านบัตรประชาชน จะสามารถดึงรายการบุคคลนั้นที่มาติดต่อผ่านระบบคอมพิวเตอร์จากสำนักทะเบียนกลางได้

 

อนาคตจะเปลี่ยนไปใช้ระบบสมาร์ทการ์ด ไม่ต้องถ่ายเอกสารสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล

- ประเทศไทย พร้อมหรือยังกับบัตรสมาร์ทการ์ด -

ผอ.สำนักบริหารการทะเบียน เผยว่า ในปัจจุบันนี้มีหน่วยราชการที่พร้อมให้เชื่อมโยงแล้วประมาณ 10 ส่วนราชการ แต่อีก 70 ส่วนราชการอยู่ระหว่างการปรับปรุง และมีผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวน 300,000 คน มีปริมาณการขอตรวจสอบข้อมูล 200 กว่าล้านรายการต่อปี เพียงแต่ข้อมูลที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันนั้น มีเฉพาะของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งในอนาคตกำลังขยายไปยังกระทรวงอื่นๆ และกำลังหาพันธมิตรมาร่วมด้วย โดยเชื่อมโยงข้อมูลกันด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

สำหรับเรื่องอุปกรณ์ที่จะต้องเบิกจ่ายเพื่อรองรับนโยบายดังกล่าวนั้น แต่ละส่วนราชการจะต้องไปของบประมาณเพื่อทำตามนโยบายรัฐบาล โดยอุปกรณ์ที่ใช้จริงๆ คือ เครื่องอ่านบัตร ราคาตามที่กระทรวงไอซีที ประกาศไว้ ราคาไม่เกิน 900 บาท

 

ให้ประชาชนทุกคนเข้าสู่ระบบภาษีที่เหมาะสมตามลำดับรายได้ของแต่ละบุคคล และนำเงินภาษีมาใช้พัฒนาประเทศ

- บัตรประชาชนใหม่ แก้ปัญหาภาษีได้จริงหรือ -

ด้านจุดประสงค์หลักของนโยบายระบุอาชีพ-รายได้ ในบัตรประชาชน นั่นคือ การแก้ปัญหาเรื่องภาษี การเสียภาษีซ้ำซ้อน รวมทั้งให้ประชาชนทุกคนเข้าสู่ระบบภาษีที่เหมาะสมตามลำดับรายได้ของแต่ละบุคคลด้วยนั้น ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวกับทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ถึงนโยบายดังกล่าวว่า เป็นเหมือนกับการลงทะเบียนประชาชน การลงทะเบียนก็จะสามารถรู้ได้เลยว่าบุคคลนี้ที่มีรายได้น้อยอยู่ตรงไหน หากรัฐบาลต้องการจะช่วยเหลืออาชีพใด จะได้ไม่ต้องลงทะเบียนซ้ำซ้อนและทราบตัวบุคคลที่แท้จริง

ส่วนเรื่องภาษี ผู้ที่เป็นคนไทยจะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจะต้องประเมินคร่าวๆ ว่าประกอบอาชีพอะไร รายได้เท่าไร จึงจะทราบว่าจะต้องเสียภาษีจำนวนเท่าไร โดยจะเป็นฐานของภาษี ทำให้การเสียภาษีจะได้ไม่ซ้ำซ้อน

 

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย

ทีมข่าวฯ ถามกลับว่า นโยบายดังกล่าวจะสามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องภาษีได้จริงหรือ? นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ ให้คำตอบว่า เป็นเรื่องที่กระบวนการของสรรพากรทำได้อยู่แล้ว หากประชาชนที่แจ้งยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่บางคนที่แจ้งว่าไม่มีรายได้ โดยเขาไม่เคยเสียภาษีหรือแจ้งว่ามีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์การเสียภาษี เมื่อมีการตรวจสอบย้อนหลังว่าเขามีรายได้เพิ่มขึ้นมาจนถึงเกณฑ์ที่จะต้องจ่ายภาษี เขาก็จะโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แต่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาเรื่องภาษีด้วยวิธีใดนอกเหนือจากกระบวนการของสรรพากร.

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top