ผู้สมัครงาน
ช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามสนับสนุนและส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจกับการเรียนสายอาชีพมากขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากเพราะการเปิด AEC ที่ทำให้มีสาขาอาชีพสามารถทำงานอย่างเสรีในประชาคมอาเซียน ได้แก่ วิศวกร สถาปนิก การสำรวจ บัญชี พยาบาล ทันตแพทย์ แพทย์ และกลุ่มอาชีพด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ซึ่งถ้ามาเจาะลึกดูแล้วจะเห็นว่า ในบรรดาอาชีพเหล่านี้เพียง 3 อาชีพ คือ พยาบาล ทันตแพทย์ และแพทย์ ที่ต้องจบทางสายสามัญเท่านั้น
แต่ด้วยข้อมูลที่กล่าวมาก็ยังไม่อาจฟันธงได้ว่า การเรียนจบสายอาชีพกับสายสามัญ แบบไหนจะหางานได้ง่ายกว่ากัน? ลองมาดูความแตกต่างระหว่างคนที่เรียนจบสายอาชีพและสายสามัญกันเลยครับ ว่ามีความแตกต่างกันตรงไหน อย่างไร
- มีหลักสูตรหลักคือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพนั้นๆ เมื่อเรียนจบก็นำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพได้ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็นระดับความรู้ที่สูงขึ้นจาก ปวช. เน้นความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น ผู้เรียนก็จะมีความรู้ความชำนาญพิเศษมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อได้ถึงระดับสูงสุดเท่ากับการศึกษาสายสามัญคือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เช่น สาขาบัญชี สาขาการโรงแรม เป็นต้น
- ข้อดีของสายอาชีพคือ มีความรู้เฉพาะด้านแน่น ไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัยก็สามารถทำงานได้เลย สอบราชการก็ได้
- ข้อเสียของสายอาชีพคือ มีข้อจำกัดในการเรียนต่อมหาวิทยาลัยในบางสาขาวิชาหรือบางคณะ เช่น คณะสัตวแพทย์ฯ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขฯ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ทั้งหมดนี้สายอาชีพไม่สามารถสมัครเรียนต่อได้
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถครบทุกด้าน
- ข้อดีของสายสามัญคือ ความรู้พื้นฐานทั่วไปค่อนข้างแน่นกว่าสายอาชีพ เพราะเน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ สามารถเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือรัฐบาล มีโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ หรือกิจกรรมอื่นๆ มากกว่าสายอาชีพ
- ข้อเสียของสายสามัญคือ ความรู้เฉพาะด้านอาจไม่แน่นเท่าสายอาชีพ เรียนจบแค่ ม. 6 แล้วไม่ต่อปริญญาตรีจะหางานค่อนข้างยาก และไม่ค่อยมีประสบการณ์ในวิชาชีวิตการทำงานเท่าสายอาชีพ
จะเห็นว่าทั้งสายอาชีพและสายสามัญล้วนมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แต่การจะได้งานดีๆ หรืออาชีพที่ตรงใจ ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการมีความชำนาญหรือทักษะเฉพาะด้าน การพัฒนาตัวเองและใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ การมีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน ที่สำคัญคือต้อง "รัก" ในอาชีพที่ทำ ก็จะยิ่งทำในสิ่งนั้นได้ดี
ไม่ว่าจะจบสายอาชีพหรือสายสามัญ ความมุ่งมั่นและตั้งใจจะสามารถสร้างความโดดเด่น และเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดสำหรับทุกบริษัทที่ต้องการคนทำงานคุณภาพมาร่วมงานด้วย
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด