บัญญัติ 10 ข้อในการทำงาน

  • 23 พ.ค. 2566
  • 5622
หางาน,สมัครงาน,งาน,บัญญัติ 10 ข้อในการทำงาน
1. ฝึกฝนความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่เทคนิคฉาบฉวย
มารยาทในการสูบบุหรี่ การกลั่นแกล้ง ล้วนเป็นปัญหาที่พบได้ในสถานที่ทำงาน แต่แท้ที่จริงแล้วก่อนจะเป็นปัญหาในการทำงาน มันคือ “ปัญหาของตัวบุคคล” มาก่อนนั่นเอง “งาน” กับ “เรื่องส่วนตัว” นั้นเป็นคนละเรื่องกัน แต่แทบจะไม่มีใครที่ทำงานไม่ดี แต่กลับเป็นคนใช้ได้ในเรื่องอื่น ๆ “ความมีวุฒิภาวะ” คือก้าวแรกของการเป็นคนทำงานมืออาชีพ
2. ความต้องการสื่อสารกับผู้อื่นคือสิ่งสำคัญ
ไม่มีงานใดที่สำเร็จเสร็จสิ้นลงได้โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้อื่นเลย ความสามารถในการสื่อสารกับผู้คนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานทุกประเภท ความสามารถในการสื่อสารไม่ได้หมายถึงความสามารถในการใช้ถ้อยคำสำบัดสำนวน แต่หมายถึงท่าทีที่แสดงออกถึงความต้องการสื่อสารกับคนรอบข้างหรือไม่ต่างหาก
3. ความสามารถในการคาดเดา [ความเอาใจใส่]
การคิดพิจารณาสิ่งต่างๆจากมุมมองของคู่กรณี (หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง) เช่นเดียวกับการคิดจากมุมมองของลูกค้า คือความคิดแบบมืออาชีพ จากนั้นจึงใช้ความสามารถในการคาดเดา เราควรฝึกฝนการคาดเดาล่วงหน้าอยู่เสมอว่าคู่กรณีต้องการสิ่งใด ทำอย่างไรจึงจะทำงานร่วมกันด้วยความพอใจให้ติดเป็นนิสัย
4. เรื่องงานเกี่ยวโยงกับเรื่องส่วนตัว
การแยกเรื่องงานออกจากเรื่องส่วนตัวถือเป็นเรื่องสามัญสำนึก แต่จะแยกพฤติกรรมและความรู้สึกของคนคนเดียวออกจากกันอย่างสิ้นเชิงก็ไม่ใช่ เรื่องง่าย เพื่อให้เรื่องงานสมบูรณ์ ควรทำเรื่องส่วนตัวให้ดีที่สุดก่อน แม้จะเป็นแนวคิด “กันไว้ดีกว่าแก้” แต่ก็ควรนำไปใช้
5. งานเริ่มต้นเมื่อออกจากบ้าน
งานไม่ได้เริ่มเมื่อไปถึงที่ทำงานแล้วเท่านั้น แม้สวิตช์โหมดการทำงานของคุณจะยังปิดอยู่ แต่ถ้าหากใครสักคนบังเอิญได้เห็นคุณตามท้องถนนซึ่งต่างไปจากตัวคุณในเวลาทำงาน เขาอาจคิดว่านี่คือ “ตัวตนที่แท้จริงของคุณ” ก็ได้ จงคิดเสมอว่างานเริ่มทันทีเมื่อก้าวเท้าออกจากบ้าน
6. หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายต้องมาก่อน
ระดับความสัมพันธ์สูงต่ำในองค์กรหรือการทำงาน หากจะพูดให้ชัดเจนก็คือ “การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ” นั่นเอง ซึ่งไม่ใช่เพื่อตีค่าบุคคลตามความสามารถ แต่เป็นข้อตกลงเพื่อให้งานเดินหน้าไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
7. ถ้าไม่มีกำหนดเส้นตาย ก็เป็นแค่ “งานอดิเรก”
การกำหนด “เส้นตาย” หมายถึงมีการกดปุ่มให้ใครบางคน “เริ่มทำงาน” คำนึงไว้เสมอว่างานเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก การรู้จักบริหารเวลาคือกฏพื้นฐานของการทำงาน
8. ทำงานอย่างมืออาชีพ
หากสิ่งที่คุณทำก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายแม้เพียงบาทเดียวก็ตาม ถือว่านั่นคือการทำงานและคุณก็คือมืออาชีพ ไม่เกี่ยงว่าคุณคือพนักงานพาร์ตไทม์หรือลูกจ้างชั่วคราว หากคุณต้องเกี่ยวข้องกับลูกค้าหรือผู้ที่ทำงานด้วย คุณก็ถือเป็นตัวแทนของบริษัทนั้น ๆ
9. ลองมองจากมุมของผู้บริหาร
สมมุติว่าคุณคือผู้บริหาร คุณจะอดทนต่อพนักงานที่คุยโทรศัพท์ส่วนตัวนาน ๆ ในเวลางาน หรือนั่งหลับในเวลางานได้หรือไม่? หรือไม่ก็เอาเรื่องกับพนักงานที่เรียกแล้วทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ได้หรือเปล่า? บางครั้งควรลองมองจากมุมของผู้บริหารว่า “ตอนนี้เราทำงานให้บริษัทพึงพอใจที่จะจ่ายเงินเดือนแล้วหรือยัง”
10. สร้างสมสถานการณ์ WIN-WIN เล็ก ๆ น้อย ๆ
WIN-WIN คือ การที่เราและคู่กรณีได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งมิได้หมายถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจใหญ่โต เมื่องานชิ้นใหญ่ย่อมแบ่งออกเป็นงานชิ้นเล็ก ๆ ได้ การทำให้เกิด WIN-WIN เล็กน้อยในเรื่องใกล้ตัวก็เชื่อมโยงกับ WIN-WIN ขนาดใหญ่ได้เช่นกัน
Credit : http://mailsara.blogspot.com/2012/05/10.html

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top